กว่าจะมาเป็น ‘เพื่อน(ไม่)สนิท’ ภาพยนตร์ชวนคิดถึงเพื่อนที่ทำให้ใครหลายๆ คนซึ้งและประทับใจไปกับเรื่องราวของมิตรภาพนั้น
มีเรื่องราวเบื้องหลังการทำงานอยู่มากมายที่น่าสนใจ
ไม่ว่าจะผ่านมุมมองของ ‘อัตตา เหมวดี’ ผู้กำกับ, ‘พสิษฐ์ ตันเดชานุรัตน์’ ผู้กำกับภาพ หรือ ‘อุทิศ บุญเสริมคณิต’ ผู้จัดการจัดหาสถานที่
มาสำรวจแนวคิดเบื้องหลังและกระบวนการทำงานของพวกเขา ก่อนจะมาเป็นภาพยนตร์ ‘เพื่อน(ไม่)สนิท’
“เรื่อง ‘เพื่อน(ไม่)สนิท’ มันเริ่มมาจากตัวผมเองเลยเรื่องราว ของการทำหนังสั้นที่มาบรรจบกับ มิตรภาพ เป็นเหมือนการบันทึกเรื่องของตัวเองว่า ครั้งนึงเคยชอบทำอะไรแบบนี้”
“การทำหนังเหมือนกับการวิ่งมาราธอน ในระหว่างที่ทำบท มันโดดเดี่ยวมากเลยนะ อยู่คนเดียวเขียนไปเรื่อยๆ และมันไม่มีใครช่วยเราได้จริงๆมันเลย ไม่ใช่การทำงานด้วยแพสชัน แต่เป็นการทำงานด้วยวินัย แต่พอถึงจุดหนึ่งที่ มันเสถียร แล้วเราตั้งมั่นว่าเราจะทำมันให้เสร็จ และทำมันให้ดี แพสชันมันกลับมาเองนะ”
“คนทั่วไปจะคิดว่าการถ่ายใช้เวลานานที่สุด แต่จริงๆ ช่วงที่ใช้เวลานานที่สุดน่าจะเป็นพาร์ทบทกับการเตรียมงานวิธีการเตรียมงานของหนังยาวมันเห็นโครงสร้างได้ยากกว่างานสั้นๆ เยอะมากทั้งหานักแสดงหาสถานที่ หาเสื้อผ้าการลงพื้นที่หามุมที่เหมาะสม บางอย่างตอนเราเห็นเป็นบทมันไม่เหมือนกับของจริงสิ่งที่ต้องเจอจริงๆ มีดีเทลที่ต้องคิดมากกว่าตัวหนังสือเยอะเลย”
“ในส่วนของการออกกองและกำกับ ตัวผมได้ค้นพบอะไรบางอย่างของการทำงานกำกับหนังที่มันแตกต่างจากที่เคยทำมาก่อนผมเพิ่งเข้าใจว่าหนังมันมีชีวิตของมัน แล้วยิ่งเราไปพยายามควบคุม บีบคั้น ฝืนให้มันเป็นตามภาพในหัวเราเป๊ะๆ เท่าไรสิ่งที่ออกมามันจะยิ่งไม่สร้างความรู้สึก ถึงจะให้นักแสดงจะเล่นมาตามบทเลย มันกลับไม่ใช่ความรู้สึกตอนอ่านบทแต่พออธิบายเขาหรือให้เขาเล่นตามความเข้าใจ บางทีมันเป็นความรู้สึกที่ใช่กว่า”
— อัตตา เหมวดี (ผู้กำกับ)
“การทำหนังเรื่องนี้ในแง่ภาพ เราเริ่มตีความจากบท พยายามทำความเข้าใจโครงสร้างของหนังว่าทำงานยังไงและตีความออกมาเป็นภาษาภาพซึ่งเรามองเห็นเป็นบรรยากาศที่ออกไปทางหม่นๆ บลูๆภายใต้ความสนุกสดใสในช่วงแรกของหนังก็อยากให้มีความหม่นๆ ในบรรยากาศเพราะรู้สึกว่าโลกในหนังเรื่องนี้มีความเป็นมนุษย์มากๆ ผมรู้สึกว่ามันมีมวลของความเจ็บปวดและความผิดหวังซ่อนอยู่”
“ความยากของหนังเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของเทคนิค แต่เป็นเรื่องของการถ่ายทอดอารมณ์ในหนังมากกว่าเราต้องบาลานซ์ทั้งส่วนที่ เป็นพาร์ทสนุก ตลก และพาร์ทที่จะนำไปสู่ซีนที่มีความ Emotionalให้รู้สึกว่าเชื่อมกันโดยไม่ได้ดูชัดเจนหรือกะโตกกะตากจนเกินไป ด้วยหลายๆ องค์ประกอบทั้งการจัดแสงของแต่ละซีนการเลือกว่าแต่ละซีนจะเกิดขึ้นตรงไหนการทำงานร่วมกับ Production Designer (ผู้ออกแบบงานสร้าง) และการใช้มุมกล้องสิ่งต่างๆ เหล่านี้มันส่งผลถึงอารมณ์ของแต่ละซีนที่เกิดขึ้น”
— พสิษฐ์ ตันเดชานุรัตน์ (ผู้กำกับภาพ)
“ฉากในหนังเรื่องนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่โรงเรียนและโจทย์คือต้องเป็นโรงเรียนรัฐบาลหลายโรงเรียนที่เราเข้าไปสำรวจมีฟังก์ชันที่ดีแต่มีการทาสีบนผนัง ที่จัดจ้านจน ไม่เหมาะกับเรื่องจนเรามาเจอโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ที่มีฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ในซีนที่เราต้องการได้ครบ สถานที่ต่างๆในโรงเรียนก็มีโทนสีเดียวกันหมดทำ ให้สามารถควบคุมหลายๆ อย่างได้ง่าย และดูมีคาแรกเตอร์ เราจึงตัดสินใจเลือกที่นี่เป็น โลเคชั่นหลักในการถ่ายทำ”
“ถึงจะถ่ายทำที่โรงเรียน แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้นับเป็นโลเคชันเดียวเพราะเรามีทั้งฉากที่ต้องไปถ่ายห้องวิทยาศาสตร์ หอประชุม โรงอาหารและสถานที่อื่นๆเราต้องคอยเช็กกับทางโรงเรียนตลอดว่าสถานที่นั้นๆ ว่างมั้ย ถ้าไม่ว่างก็ต้องมาทำการบ้านกับทีมต่อว่าจะสลับส่วนไหนได้บ้าง”
“เวลาผมหาโลเคชันของหนังเรื่องนี้ ผมยิ้มตลอดเวลาเลย มันเหมือนได้ย้อนวัยไปสมัยเรียนมัธยม ว่าถ้าเราอยู่โรงเรียนเราจะชอบไปทำอะไรอยู่ตรงไหนและการที่ได้เห็นสิ่งที่เราตั้งใจทำ ตั้งใจหาออกมาเป็นภาพในท้ายที่สุด ก็รู้สึกหายเหนื่อยและภูมิใจเพราะมันเป็นงานของเรา”
— อุทิศ บุญเสริมคณิต (ผู้จัดการจัดหาสถานที่)