‘เวลา’ สำหรับ ‘คนรอคอย’
ไม่เพียงมีคุณค่าและมีความหมายยิ่งไปกว่าเงินทองแต่ ‘เวลา’ สำหรับการเล่าเรื่องในภาพยนตร์
‘หลานม่า’ยังทำหน้าที่กำหนดทิศทางเรื่องราว ควบคู่ไป ‘ความเรียลลิสติก’ สององค์ประกอบที่ขาดกันไม่ได้เหมือนคู่แสงและเงา
“ตอนถ่ายหนัง ‘หลานม่า’ เราพยายามนำสิ่งที่อยู่ในชีวิตจริงมาประกอบรวมกันดังนั้น อะไรที่เป็นความฉาบฉวยใน ‘หลานม่า’เราจึงลดทอนออกทั้งหมด”
พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ บอกเล่า
“ผมรู้แค่ว่า เรื่องราวจะถูกเล่าออกไปแบบไหนแต่คนที่ทำให้ภาพเกิดขึ้นได้จริงคือช่างภาพ (ก๊อย บุณยนุช ไกรทอง ผู้กำกับภาพ)
และทีมงานในแต่ละฝ่ายทีมโลเคชัน ทีมคอสตูม ทีมอาร์ต ทีมไฟ ทีมกล้องทีมจัดการไปจนถึงกระบวนการแก้สีที่ทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นได้จริงและสอดคล้องกัน”
“พี่ดิว (ชัยธวัช ไตรสารศรี Colorist) เขามีวิธีคิดเรื่องการแก้สีด้วยไอเดียที่ทุกอย่างที่อยู่บนพื้นฐานความจริงมากไปกว่าการ Styling ภาพยนตร์
คือไม่ใช่การทำสีเพื่อความสวยงามแต่เป็นการเน้นและย่อยความจริงของแต่ละตัวละคร แต่ละสถานการณ์อย่างเช่น
ฉากที่กู๋โส่ยมาเยี่ยมอาม่ามันจะเป็นสองคัทที่เวลาต่างกันในช่วงของหนึ่งวันกู๋โส่ยจะมาหาในช่วงบ่ายแล้วจากไปในช่วงโพล้เพล้
ให้คนดูรู้สึกว่ากู๋โส่ยเค้าอยู่จนเย็นที่สุด แล้วจึงกลับไป”
“ตอนถ่ายหนัง ‘หลานม่า’ เราพยายามนำสิ่งที่อยู่ในชีวิตจริงมาประกอบรวมกัน..”
“..ดังนั้น อะไรที่เป็นความฉาบฉวยใน ‘หลานม่า’ เราจึงลดทอนออกทั้งหมด”
“ซีนขายโจ๊ก จะมีสามช่วงเวลาด้วยกัน คือช่วงที่ตีสี่ ที่เอ็มไม่ตื่น, ตอนสายที่เอ็มตื่นไม่ทัน
แล้ววิ่งตามมาช่วยอาม่าและซีนที่เอ็มกับอาม่าเข็นรถเข็นผ่านริมทางรถไฟ
มันจะค่อยๆไล่เวลา จากช่วงเช้ามืด ไปจนถึงช่วงที่แดดเริ่มร้อน พี่ดิว (Colorist)
เขาจะลงรายละเอียดให้เกิดความรู้สึกว่า เรากำลังใช้ชีวิตไปพร้อมๆ กับอาม่า”
“ซีนฮวงซุ้ย เราถ่ายทำกันช่วงฤดูฝน ฟ้าในฤดูกาลนี้จะสวยมาก เมฆจะเรียงสะเปะสะปะ ไม่มีแดดเลย
พี่ดิว (Colorist) จึงเสนอมาว่าให้เพิ่มแดด เพราะความทรงจำของคนที่ไปไหว้ฮวงซุ้ยมันร้อนจริงๆ คือต้องอยู่กลางแจ้ง มันดูไทยๆ ดี”
“ซ็อตที่อาม่าบอกว่ารู้เรื่องมะเร็งแล้ว เราก็ต้องทำให้แดดที่ระเบียงจ้า
ให้รู้สึกว่าเป็นช่วงเวลาตอนเที่ยงเพราะครอบครัวจะกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากันในตอนเที่ยง”
“วันแรกที่ไปถ่ายตลาดพลู มีฝนตก เราจึงต้องคิดซีเควนซ์ซีนฝนตก ตั้งแต่ช่วงสายซีนเอ็มไปร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อซีนเอ็มไปหาอาม่า
จนถึงซีนเอ็มต่อคิวซื้อปลาแล้วสุดท้ายช่วงบ่ายซีนเอ็มโดนอาม่าไล่กลับซึ่งตอนถ่ายทำจะมีตั้งแต่จังหวะที่ฟ้าเริ่มโปร่งไปจนแดดเปรี้ยง
พี่ดิวจะปรับเกลี่ยทุกอย่างให้ดูต่อเนื่อง ให้ความรู้สึกของคนดูค่อยๆ ผ่านช่วงเวลาไปพร้อมๆ กัน”
“ผมรู้แค่ว่า เรื่องราวจะถูกเล่าออกไปแบบไหนแต่คนที่ทำให้ภาพเกิดขึ้นได้จริง คือช่างภาพผมมีโอกาสได้ทำงานกับพี่ก๊อย (ผู้กำกับภาพ)
มาตั้งแต่ ซีรีส์ SOS skate ซึม ซ่า,ซีรีส์ ฉลาดเกมส์โกง และล่าสุดคือภาพยนตร์ หลานม่า”
“พี่ดิว (Colorist) เขามีวิธีคิดเรื่องการแก้สี ด้วยไอเดียที่ทุกอย่างที่อยู่บนความจริง มากไปกว่าการ Styling ภาพยนตร์
คือไม่ใช่เป็นการทำสีเพื่อความสวยงาม แต่เป็นการเน้นและย่อยความจริงของแต่ละตัวละคร แต่ละสถานการณ์”
“สำหรับเรื่องนี้ ความสวยงามจริงๆ มันเกิดจากทีมงานในแต่ละฝ่าย ทั้งช่างภาพ ทีมโลเคชัน ทีมอาร์ต ทีมไฟ
ทีมกล้อง ทีมจัดการไปจนถึงกระบวนการแก้สี ที่ทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นได้จริง และยังสอดคล้องกัน”