ภาพชุดชาวสวนสีสันสดใสท่ามกลางพุ่มใบแมกไม้สีเขียว คือหนึ่งในความคอนทราสต์จัดจ้านที่กลายเป็นไดเรคชันสำคัญของภาพยนตร์ ‘วิมานหนาม’ จากการกำหนดทิศทางร่วมกันของทีมงานทุกฝ่ายที่ได้ทำรีเสิร์ชมาอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับ,ทีมอาร์ต, ทีมสไตลิสต์, ผู้กำกับภาพ รวมไปถึงทีมคัลเลอร์ริสต์
“พอเราเลือกแล้วว่าจะทําหนังเกี่ยวกับชาวสวนทุเรียนก็ไปรีเสิร์ชแลนด์สเคป หรือทิวทัศน์ของสวนทุเรียนกันโดยปกติในเมืองไทยจะเป็นอุณหภูมิอากาศโทนร้อนเราจึงปักหมุดว่าหนังเรื่องนี้จะมีสีเขียวด้วยกิ่งไม้ใบหญ้า แล้วถ้าหากมีแต้มคนเข้าไป จะเป็นยังไง เมื่อทุกทีมไปทำการบ้าน ปรากฎว่าสิ่งที่ทุกคนรีเสิร์ชมาเป็นพาเลท (Palette) สีเดียวกันเลย นั่นคือคนไทยชอบใช้ของต่างๆ เป็นสีสดๆ และเป็นสีขั้นที่สอง เช่น ชมพู ม่วง ส้ม เขียว จากนั้น เราก็รวบทำเป็นตารางพาเลทสี เป็นสแตนดาร์ดไว้เลย ไม่ว่าเราจะทำอะไร เลือกโลเคชัน เลือกสีเสื้อผ้าก็จะยึดจากตารางนี้เป็นหลัก ซึ่งเราเรียกว่าพาเลทสีคนไทย”เป็นคำบอกเล่าถึงภาพรวมของสีสันในหนัง ‘วิมานหนาม’ จากผู้กำกับ ‘บอส กูโน’
“ถ้าใครได้ดูหนังวิมานหนามเราอยากให้รู้สึกถึงสีสันแบบชาวบ้านอินเนอร์ความเป็นคนไทยและเรื่องราวที่เกิดในประเทศไทยซึ่งเป็นความตั้งใจที่เราอยากขายความเป็นไทยรูปแบบนี้ให้มีความเป็นสากล” บอส กูโน กล่าว
“จากที่พี่แป้ง (สองศักดิ์ กมุติรา ออกแบบงานสร้าง) ทำรีเสิร์ชเรื่องอาร์ต เราจะเห็นว่าพร็อพส่วนใหญ่ในหนัง จะเป็นสีชมพู สีส้ม เรืองแสง เป็นวิชวลของคนต่างจังหวัด ที่จะใส่เสื้อผ้าง่ายๆ หยิบอะไรมาก็ใส่ตามนั้น”
“ช่วงรีเสิร์ชเขียนบท จูเนียร์ (ณรณ เชิดสูงเนิน) กับ เกด (การะเกด นรเศรษฐาภรณ์) ทีมเขียนบท ขับรถขึ้นไปแม่ฮ่องสอน แล้วโทรมาเล่าว่า ชาวสวนแม่ฮ่องสอนเค้าใส่เสื้อผ้า รองเท้า สีสดมาก เหมือนเดินแฟชั่นวีคเลย ซึ่งที่ชาวสวนแม่ฮ่องสอนชอบใส่เสื้อผ้าสีสดๆ เพื่อที่ว่าจะได้มองเห็นเมื่อเวลาอยู่ไกลๆ”
“สำหรับสีเสื้อผ้าของแต่ละตัวละคร ยกตัวอย่างเช่นทองคำ ในมุมของคนเขียนบท และทีมเสื้อผ้าสไตลิสต์ อย่างพี่มายน์ (ชญานุช เสวกวัฒนา ออกแบบเครื่องแต่งกาย) พวกเราจะคิดจากอินเนอร์ตัวละครเลยว่า ถ้าอยู่ในสวนเยอะๆ ก็คงเบื่อสีเขียว ก็ซื้อเสื้อผ้าที่มันสีตรงข้ามกับสีสวนมาใส่เลยแล้วกัน”
“การทำงานกับ เจด (พีรดนย์ วิชย์รณสรณ์ คัลเลอร์ริสต์) หลักๆเขาจะเสนอไอเดีย และขึ้นโครงมาก่อนว่า เขาเห็นภาพเป็นแบบไหน แล้วตอนทำงานก็จะมี ตั้ง (ตะวันวาด วนวิทย์ กำกับภาพ) มาช่วยด้วย เพราะตั้งเขาจะเห็นภาพในหัวตั้งแต่ตอนถ่ายทำแล้วว่าเขาเห็นภาพรวมโทนสีเป็นยังไง”
“เสน่ห์ของคัลเลอร์ริสต์ที่ทำให้หนังเรื่องนี้มีความสวยงาม แล้วก็ดูมู้ดแอนด์โทนเข้ากัน เพราะเกิดจากการที่ เจดทำงานแล้วมีอารมณ์อยู่ในภาพ ทำให้ในแต่ละเฟรม เขาจะเห็นได้ว่า นอกจากสวยแล้ว มันต้องเล่าเรื่องด้วย และมันต้องมีอารมณ์อยู่ในนั้น ซึ่งเจดเขาจะมีลักษณะพิเศษในการกำกับอารมณ์ผ่านโทนสี ทำให้เขาเหมาะกับการทำหนังเรื่องนี้มากๆ”
“ฉากงานบวช ถือว่าพรีเซนต์ความเป็นไทย และความเป็นแม่ฮ่องสอนมาก โดยปกติ เวลาเราเกรดสี สีที่มันเด้งออกมา แบบชมพูสด เหลืองสด ส่วนใหญ่เราจะดรอปมันลง เพื่อให้ภาพคุมโทน แต่หนังเรื่องนี้ เราไปเร่งสีพวกนั้นเพิ่มขึ้น ทำให้หนังดูจัดจ้าน และมีคาแรกเตอร์”
“วิมานหนาม ถือว่าสีจัดที่สุดตั้งแต่ทำมา แต่มันเป็นสีที่อยู่ด้วยกันแล้วรู้สึกรีเลท เห็นแล้วจะนึกถึงหวีสีส้มในตลาดนัด ผ้าถุงสีม่วงลายดอก ถุงปุ๋ยสีแรงๆ มันเป็นความสวยแบบสะใจ”
“โดยปกติในเมืองไทยจะเป็นอุณหภูมิอากาศโทนร้อน เราจึงปักหมุดว่าหนังเรื่องนี้จะมีสีเขียวด้วยกิ่งไม้ใบหญ้า
แล้วถ้าหากมีแต้มคนเข้าไป จะเป็นยังไง..”
"คนไทยชอบใช้ของต่างๆ เป็นสีสดๆและเป็นสีขั้นที่สอง เช่น ชมพู ม่วง ส้ม เขียว ดังนั้น เราจึงรวบทำเป็นตารางพาเลทสี เป็นสแตนดาร์ดไว้เลย ไม่ว่าเราจะทำอะไร เลือกโลเคชัน เลือกสีเสื้อผ้า ก็จะยึดจากตารางนี้เป็นหลัก ซึ่งเรีเรียกว่าพาเลทสีคนไทย”
“..พาเลทสีคนไทย, อินเนอร์ความเป็นคนไทย..”
“ถ้าใครได้ดูหนังวิมานหนาม เราอยากให้รู้สึกถึงสีสันแบบชาวบ้านอินเนอร์ความเป็นคนไทยและเรื่องราวที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งเป็นความตั้งใจที่เราอยากขายความเป็นไทยในรูปแบบนี้ ให้มีความเป็นสากล”
#วิมานหนาม
#TheParadiseOfThorns
#Colourพาเหรด